A V P

Loading





ดอกยางแบบไหนใช้ดีในช่วงฝนตก


       ยางรถยนต์เป็นส่วนสำคัญของรถยนต์ เพื่อการขับเคลื่อน ดังนั้นยางจึงมีหลายประเภท และแต่ละประเภทก็กำหนดมาเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน การเลือกยางรถยนต์ที่ถูกต้องสำหรับคุณสามารถทำให้เกิดความปลอดภัยได้


ประเภทของยางรถยนต์

ขึ้นอยู่กับยานพาหนะของคุณและเงื่อนไขการขับขี่ การเลือกยางรถยนต์ที่เหมาะสมสามารถตัดสินได้ถึงความเป็นและความตาย คุณคงไม่อยากที่จะใช้ยางทั่วไป ในช่วงฤดูหนาวสุดโหดหรอกนะ


ยางสำหรับทุกฤดู 

ยางสำหรับทุกฤดูคือยาง “อเนกประสงค์” ซึ่งปกติใช้กันในทุกสถานการณ์ มีประสิทธิภาพที่สมดุล มีแรงการลากและเป็นยางใช้ได้นาน (โดยเฉพาะในพื้นผิวที่เปียก) อายุการใช้งานทนทาน ความคงทน ยางสำหรับทุกฤดูกลายมาเป็นยางมาตรฐานสำหรับรถยนต์ทุกคัน และควรทำการเปลี่ยนยางรถยนต์เมื่อมันเริ่มแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมสภาพ หรือประมาณ70,000 ไมล์ขึ้นไป


ยางสำหรับทุกสภาวะพื้นผิว

ยางสำหรับทุกสภาวะพื้นผิวถูกออกแบบมาเพื่อรถบรรทุกขนาดเล็ก รถ SUV และรถตู้ คุณสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการรั่วและหลุมบ่อ ยางเหล่านี้ถูกสร้างมาโดยเน้นแก้มยางที่มีความทนทานกว่ายางสำหรับทุกฤดู ยางสำหรับทุกสภาวะพื้นผิวมีลักษณะเด่นที่ดอกยางเป็นแบบบล็อกขนาดใหญ่ ถูกออกแบบมาให้สามารถผลักโคลนออกมาจากจุดสัมผัสของยาง และเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะบนพื้นผิวที่เป็นกรวดหรือทรายในถนนวิบาก


ยางสำหรับฤดูหนาว

ยางสำหรับฤดูหนาว ถูกออกแบบมาสำหรับสภาพอากาศหนาวเย็นและบริเวณที่มีหิมะและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ พวกมันถูกออกแบบมาด้วยการใช้ยางแบบนุ่มซึ่งสามารถเพิ่มความร้อนเองได้ขณะใช้งาน ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะบนหิมะและน้ำแข็ง ยางเหล่านี้ถูกใช้ในรถยนต์และรถบรรทุก ลักษณะเด่นคือมีร่องยางที่มากกว่ายางรถยนต์สำหรับทุกสภาวะพื้นผิว ก่อให้เกิดขอบที่มี “การจับ” และสร้างแรงลากที่มากกว่าในสภาพถนนที่ย่ำแย่ การออกแบบดอกยางถูกออกแบบด้วยลักษณะที่เน้นในเรื่องการเพิ่มแรงลาก เพื่อช่วยเหลือให้มีแรงลากเมื่อยู่ในพื้นผิวที่เปียกแฉะ


ยางความเร็วสูง

ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มพื้นผิวสัมผัสกับท้องถนนอย่างเต็มที่ เพื่อการใช้ความเร็วสูงสุด เน้นให้ยางนุ่มเงียบ การขับขี่ที่ดุดัน และสำหรับการแข่งขัน ยางเหล่านี้จะโดยการใช้เนื้อยางที่อ่อนนุ่ม ซึ่งช่วยเพิ่มแรงลากและทำให้เข้าโค้งได้อย่างง่ายดาย


ยางวิบาก ยางกระบะ

ยางวิบาก ยางกระบะ ถูกสร้างมาเพื่อการขับขี่ในทางที่ไม่ใช่ถนนทั่วไป พวกมันถูกสร้างขึ้นมาในรูปแบบที่ “อ้วนเทอะทะ” หรือดอกยางที่มีขนาดใหญ่และถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มแรงลากในพื้นดินที่ร่วน พื้นทราย หิมะ หรือถนนที่มีสภาพแย่ต่าง ๆ

 การดูแลรักษายางรถยนต์อย่างถูกต้อง





การสับเปลี่ยนยางรถยนต์

ความผิดพลาดในการดูแลรักษายางรถยนต์สามารถนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงได้ ถ้าคุณไม่ได้ทำการสับเปลี่ยนยางรถยนต์ คุณจะพบกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้

  • ระยะการหยุดรถ
  • การขับขี่และควบคุม
  • การกินน้ำมัน
  • ดอกยางเสื่อมคุณภาพ
  • ความสามารถในการรับน้ำหนัก

การสับเปลี่ยนยางรถยนต์ควรทำทุก 6 เดือน หรือ 7,500 ไมล์ คนทั่วไปมักจะทำการเปลี่ยนยางรถยนต์ทุกครั้งที่เขาเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน และอู่รถประจำ มักจะมีข้อเสนอทำการเปลี่ยนยางรถยนต์ให้หรือแม้กระทั่งบริการฟรีพร้อมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถ้าคุณขับน้อยกว่า7,500 ไมล์ในหนึ่งปี มันก็ยังพอที่จะเป็นไปได้ที่จะสับเปลี่ยนทุกหนึ่งปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการขับรถของคุณว่าเป็นอย่างไร


การเติมลมที่ถูกต้อง การเติมลมรถกระบะ

การดูแลรักษาระดับลมยางให้ถูกต้อง คุณจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ ความสามารถในการควบคุมของคุณได้ เช่นเดียวกับประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันที่ดีขึ้น การเติมลมสำหรับรถทั่วไปและการเติมลมรถกระบะที่เหมาะสมทำให้ผู้ขับขี่สามารถขับรถได้อย่างนุ่มนวล ด้วยสมรรถนะที่ยาวนานขึ้นสามารถทำให้ยางอยู่ในสภาพที่ดีได้หลายปี ทำให้ยางใช้ได้นาน ลมในยางรถยนต์ถูกวัดในหน่วย ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ PSI ระดับของลมที่เหมาะสมจะถูกพิมพ์ยู่ที่ด้านข้างของยางโดยผู้ผลิต เช่นเดียวกับในคู่มือรถยนต์ของคุณ


การเติมลมที่ไม่เพียงพอจะทำให้ยางไม่สามารถคงรูปร่างได้ขณะที่สัมผัสกับพื้นถนน เพียงแค่คลาดเคลื่อนไป 6 PSI ก็สามารถทำให้ยางทำงานผิดพลาดได้แล้ว อายุการใช้งานของดอกยางจะได้รับผลกระทบโดยตรง และยางจะบิดงอจากการที่มันหมุนไป ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อการควบคุมรถของคุณ และทำให้รถคุณเป็นอันตรายได้ในการขับขี่


การเติมลมที่มากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ยางที่เติมลมมากเกินไปนั้นมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดระเบิดขึ้นได้เมื่อสัมผัสกับเศษหิน หลุม หรือสิ่งแปลกปลอมบนท้องถนน ยางที่เติมลมมากเกินไปไม่สามารถ "แยก" หรือจำแนกความแตกต่างของความผิดปกติบนพื้นผิวถนนได้ ทำให้การขับขี่ของคุณเป็นไปอย่างยากลำบาก มีบางกรณีเท่านั้นที่ยางที่เติมลมมากไปมีข้อดี เช่น ทำให้ควบคุมรถดีขึ้น การเติมลมมากกว่าปกติมักจะถูกใช้บ่อย ๆ ในการแข่งขันรถ


ขอบคุณที่มาความรู้ : morter08