Loading
"ยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพ ลดความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับสูงวัย" 👨🦳👩🦳🚗
📌 ผู้มีใบขับขี่ตลอดชีพที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ต้องทดสอบสมรรถภาพความพร้อมในการขับรถอีกครั้ง กลายเป็นประเด็นถกเถียงอยู่ช่วงหนึ่ง และกรมขนส่งออกมาปฏิเสธทันที แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นความปลอดภัยยังเป็นเรื่องน่าห่วง ซึ่งควรมีการพิจารณาทางออกเรื่องนี้ บนข้อมูลที่มีทั้งจำนวนผู้ถือใบผู้ขับขี่และอุบัติเหตุ
▪ เดิมทีการให้ใบอนุญาตขับรถอยู่ในการกำกับดูแลของกองทะเบียน กรมตำรวจ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน สาเหตุของการออกใบอนุญาตขับรถตลอดชีพ เพราะต้องการลดปริมาณการติดต่อราชการ ใน พ.ศ.2546 ได้ยกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพ แต่ในบทเฉพาะกาลยังให้ใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีพยังใช้ต่อไปได้
▪ นอกจากนี้ ข้อมูลสถิติจำนวนใบขับขี่ตลอดชีพสะสมจากกรมการขนส่งทางบก พบว่ามีจำนวนใบขับขี่ตลอดชีพอยู่ประมาณ 12 ล้านใบ จึงเกิดคำถามว่าข้อมูลที่กรมการขนส่งทางบกจัดเก็บมีการปรับปรุงข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ และจำนวนที่แท้จริงของใบขับขี่ตลอดชีพที่มีอยู่ใน ปัจจุบันมีเท่าใด ?
สถิติอุบัติเหตุสะท้อนปัญหาใบขับขี่ตลอดชีพในวัยผู้สูงอายุที่มาพร้อมกับโรคของผู้สูงวัย
▪ หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ อายุส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ ? ซึ่งข้อมูลสถิติจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยกรมควบคุมโรค พบว่าช่วงอายุ 15-24 ปี และช่วง 50-80 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงอายุอื่น
▪ ตัวอย่างมาตรการด้านการตรวจสุขภาพในการออกใบอนุญาตขับขี่ของต่างประเทศ เป็นอีกสิ่งที่ประเทศไทยควรนำมาพิจารณา เช่นในกลุ่มสหภาพยุโรป กระบวนการออกใบขับขี่ของประเทศ ส่วนใหญ่จะกำหนดให้มีการตรวจสอบสมรรถภาพทางกายอีกครั้ง (Retest) เมื่อผู้ขับขี่มีอายุครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น สวีเดนกำหนดอายุที่ 45 ปี หลังจากนั้นต้องตรวจสอบสมรรถภาพทางกาย ในทุก 10 ปี , ฝรั่งเศสกำหนดเกณฑ์อายุที่ 60 ปี และต้องตรวจสอบหลังจากนั้นในทุก 2-5 ปี
▪ หรือกรณีออสเตรเลีย แม้รัฐจะไม่ได้กำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้แต่มีมาตรการควบคุมดูแลผู้ขับขี่ ที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบว่ามีอาการหรือมีความผิดปกติตามหลักเกณฑ์ที่รัฐกำหนดหรือไม่ และออกใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่ามีสุขภาพดีพอที่จะขับขี่รถ (Fit to Drive)
▪ ดังนั้น หากรัฐมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขหรือยกเลิกเรื่องใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีพ รัฐต้องดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 โดยกำหนดเกณฑ์อายุที่จะยกเลิกใบอนุญาตขับขี่ตลอดชีพ และให้ผู้ถือ ใบอนุญาตขับขี่ดังกล่าวกลับมาตรวจสอบสมรรถภาพในการขับขี่หากยังต้องการขับขี่รถอีกครั้งหลังจากนั้นจะได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดอายุ 5 ปีที่มีในปัจจุบันแทน
หากสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะเป็นการลดอุบัติเหตุในการขับขี่ของผู้สูงอายุแล้ว ยังทำให้ผู้ขับขี่รถอยู่ภายใต้กรอบปฏิบัติเดียวกัน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนพร้อมเพิ่มศักยภาพด้านการขับขี่
▪ ปัจจุบันนี้ไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลง สามารถขับรถไปไหนมาไหนด้วยตนเอง และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อยกว่าคนหนุ่มสาว เนื่องจากมักขับรถช้ากว่า มีประสบการณ์มากกว่า อย่างไรก็ตาม เราสามารถดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ขับรถอย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น ดังนี้
1. หมั่นพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความพร้อมในการขับขี่เป็นประจำ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับสายตา สมอง และกล้ามเนื้อ
2. หลีกเลี่ยงการให้ผู้สูงอายุขับรถด้วยตนเองในเส้นทางไม่คุ้นเคย หรือสภาพอากาศที่เป็น อุปสรรคต่อทัศนวิสัยในการขับรถ
3. ไม่ควรให้ผู้สูงอายุขับรถระยะทางไกล หรือในชั่วโมงเร่งด่วนที่มีการจราจรติดขัดเพียงลำพัง ควรมีเพื่อนนั่งไปด้วยเพื่อช่วยเปลี่ยนขับ หรือช่วยสังเกตเส้นทางและสัญญาณไฟจราจรต่างๆ
4. ตรวจสอบสภาพรถยนต์อยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินต่างๆ
ทั้งนี้ สำหรับใบขับขี่ตลอดชีพ กรมการขนส่งทางบกยกเลิกไปตั้งแต่ปี 2546 ทำให้ปัจจุบันผู้ที่ขับรถต้องมีการต่ออายุใบขับขี่ทุก 5 ปี และต้องต่ออายุภายในระยะเวลา 90 ปี และหากใครละเลยไม่ต่ออายุนานเกิน 3 ปีนับจากบัตรหมดอายุ ก็จะต้องสอบข้อเขียนและสอบภาคปฏิบัติในการขับรถใหม่ทั้งหมดด้วย
และหากให้ยิ่งปลอดภัยเพิ่มขึ้นอีกขั้นควรนำรถตรวจเช็กตามรอบเพื่อให้รถยนต์มีความพร้อมในการขับขี่อยู่เสมอ และควรทำประกันภัยรถยนต์กรณีเกิดอุบัติเหตุ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในเรื่องรถ ควรสมัครกับบริษัทตัวแทนประกันที่มีคุณภาพและประสบการณ์ อย่างเช่น AVP ที่คัดสรรบริษัทประกันชั้นนำให้ทุกคนที่รักรถยนต์ 🧡