Loading
เมื่อได้ยินเสียงไซเรนของรถพยาบาลฉุกเฉินดังก้อง คนในละแวกนั้นต่างต้องมองหาแน่ๆ ว่าเสียงไซเรนดังมาจากทิศใดของฝั่งถนน แล้วร่วมกันลุ้นว่ารถฉุกเฉินของโรงพยาบาลนั้นจะไปถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลได้ทันเวลาในการรักษาไหม เพราะแต่ละวินาทีมีค่ามากสำหรับชีวิตคนคนหนึ่ง แต่ก็มีผู้ใช้รถใช้ถนนบางประเภท ที่ทำตัวขวางโลกไม่หลีกทางให้รถพยาบาล เพราะคิดว่าที่เปิดไซเรนคืออยากไปก่อน หรือเปิดเฉยๆ ไม่มีอะไรหรอก แต่คุณรู้ไหมครับ ขวางทางรถพยาบาลผิดกฎหมาย และมีเจตนาฆ่าคนนะ!
การที่รถพยาบาลฉุกเฉินมีอภิสิทธ์ในการขับรถฝ่าไฟแดงด้วยการเปิดเสียงไซเรนนั้น เป็นเพราะว่าเสียงไซเรนคือสัญญาณที่บอกให้คนละแวกนั้นรู้ว่ากำลังมีเรื่องราวร้ายแรงเกิดขึ้นภายในรถพยาบาลฉุกเฉินคันนี้ โดยผู้ที่อยู่ในรถพยาบาลฉุกเฉินมีสภาวะไม่ปกติหรือเข้าขั้นวิกฤติ ชีวิตแขวนบนเส้นด้ายว่าจะอยู่หรือจะไป
โดยสภาวะไม่ปกติหรือเข้าขั้นวิกฤตินั้น เช่น รถชนกันที่สี่แยกไฟแดงแล้วมีผู้ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บสาหัสทั้งคู่ต้องไปห้องพยาบาลฉุกเฉินอย่างด่วน หรือมีผู้ป่วยด้วยโรคประจำตัวตกอยู่ในสภาวะโคม่าต้องถึงมือหมอให้ไวที่สุดเพื่อรักษาอย่างทันท่วงที นี่จึงเป็นเหตุผลที่รถพยาบาลฉุกเฉินมีอภิสิทธิ์กว่ารถคันอื่น ๆ
แต่ถ้าคุณอ่านถึงตรงนี้แล้วกำลังคิดว่า “เอาไซเรนมาติดรถบ้างดีกว่าจะได้ขับรถแซงคิวคันอื่น ๆ ได้” เงินติดล้อขอบอกว่าอย่าดีกว่า เพราะเรื่องเสียงไซเรนของรถพยาบาลฉุกเฉินมีกฎหมายรองรับ แล้วถ้าคุณฝ่าฝืนนำเสียงไซเรนมาติดโดยพลการจะถือว่าผิดกฎหมายและมีโทษปรับ
โดยในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 13 ระบุว่า ห้ามไม่ให้รถยนต์ส่วนบุคคลใช้แสงไฟหรือเสียงไซเรนที่ดัง เสียงดังแตกพร่า เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นรถที่อธิบดีมีอำนาจให้ใช้ในรถฉุกเฉินเท่านั้น เช่น รถทหาร รถตำรวจ และรถพยาบาลฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 1,000 บาท
ถ้าสังเกตให้ดีเวลามีเสียงไซเรนรถพยาบาลฉุกเฉินดังไปทั่วท้องถนน มักจะมีรถบางคนที่ไม่ยอมขยับเขยื้อนเพื่อหลีกทางให้รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลเลย เลือกทำนิสัยขวางโลกจอดรถแช่เอาไว้ในเลนของตัวเอง เพราะมีความคิดว่าถ้าจะไปก็ต้องรอสัญญาณไฟจราจรให้เป็นสีเขียวก่อน รู้ไหมว่าทำแบบนี้ผิดกฎหมายนะครับ
เพราะในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 75 ระบุว่า อนุญาตให้รถฉุกเฉินสามารถส่งแสงไฟวับวาบหรือเสียงไซเรนได้ และจอดรถในที่ห้ามจอดเพื่อรับผู้ประสบเหตุ ขับเร็วได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด (แต่ไม่เร็วจนเกินไป) และสามารถขับรถฝ่าไฟแดงได้เลยโดยไม่ต้องรอให้เปลี่ยนเป็นไฟเขียว
ซึ่งถ้าคุณขัดขืนหรือขัดขวางจะถือว่าทำผิดตามมาตรา 76 ที่บอกว่า ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องหลีกทางให้กับรถพยาบาลในทันทีเมื่ออยู่ในเลนเดียวกับกับรถพยาบาลฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท และเมื่อย้อนไปในปี 2562 มีกรณีนี้เกิดขึ้นและถูกวิพากวิจารณ์มากมาย
จนสำนักกองปราบปรามให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถ้าขับรถกีดขวางทางรถพยาบาลฉุกเฉิน แล้วทำให้ผู้ป่วยในรถพยาบาลถึงแก่ชีวิต อาจเข้าข่ายความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือกระทำโดยเจตนาฆ่า ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ณ ขณะนั้นว่าแสดงออกแบบใด ดังนั้น เจอรถพยาบาลฉุกเฉินแล้วหลีกทางเถอะครับ
ถ้ามีรถพยาบาลฉุกเฉินมาเปิดเสียงไซเรนและฉายแสงวับวาบทางเดียวที่คุณจะทำได้คือ “หลีกทางให้รถพยาบาล” ไม่ว่าคุณจะเป็นคนเดินเท้าหรือคนขับรถอยู่บนถนนก็ตาม เพราะข้อนี้ยึดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 76 ที่บอกว่าเมื่อเจอรถฉุกเฉินต้องเปิดทางให้รถไปก่อน โดยระบุไว้ว่า
ซึ่งถ้าฝ่าฝืนปรับ 500 บาท แต่เงินติดล้อคิดว่าการไปขวางรถพยาบาลไม่ให้ไปถึงห้องฉุกเฉิน แล้วจ่ายค่าปรับแค่ 500 บาทไม่มีอะไรคุ้มเลยจริง ๆ เพราะคุณอาจเป็นฆาตกรผู้ป่วยในรถพยาบาลฉุกเฉินที่เปิดเสียงไซเรนคันนั้นก็ได้ คราวนี้ไม่ได้เสียแค่ 500 บาทแล้วนะครับ
จริง ๆ แล้วมีหลักการใช้สัญญาณไฟวับวาบและสัญญาณเสียงไซเรนแบ่งออกเป็น 2 กรณี โดยสำนักวิชาการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ออกมาให้ข้อมูลเองเลยว่า
เท่ากับว่าเปิดเสียงไซเรนและเปิดไฟแปลว่าด่วนมาก แต่ถ้าปิดเสียงไซเรนแต่เปิดแค่ไฟแปลว่าด่วนไม่มาก แต่จะกรณีไหนก็ควรหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินนะครับ อย่าลืมว่าทุกวินาทีมีค่าเสมอ การที่คนเจ็บป่วยได้ถึงมือหมอไว ๆ ก็มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น สมมติว่าถ้าคนในรถพยาบาลเป็นญาติของเราที่ประสบอุบัติเหตุจากรถชนกัน หรือรถชนเสาไฟฟ้า ก็คงอยากให้ได้รับการรักษาไว ๆ เช่นกัน ดังนั้น ใจเขาใจเราดีที่สุดครับ
ไม่ว่ารถพยาบาลฉุกเฉินที่เปิดเสียงไซเรนจะขนคนป่วยจากโรคประจำตัว หรือคนบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถชนสี่แยกก่อนหน้า สิ่งที่คุณจะต้องทำคือ “หลีกทางให้รถพยาบาล” เพราะถ้าฝ่าฝืมมีโทษปรับ 500 บาท และถึงแม้จำนวนเงินจะน้อยนิด แต่สิ่งที่สูญเสียไปอาจมากกว่าคือ “ชีวิต”
ขอบคุณที่มาความรู้ : tidlor