A V P

Loading





5 สัญญาณ ถึงเวลาต้องเปลี่ยนรถใหม่ !!


1. ปัญหารถควันขาว

     เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่หมดจด ชิ้นส่วนภายในอาจสึกหรอจนทำให้น้ำมันเครื่องหลุดเข้าไปในขั้นตอนการจุดระเบิด ทำให้อุณหภูมิการเผาไหม้ไม่ถึงจุดที่ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ เมื่อปล่อยควันออกมาเจออุณหภูมิต่ำกว่าและความชื้น  ทำให้กลายเป็นควันขาวออกมา และยังเกิดได้จากเครื่องหลวม ซึ่งหากต้องซ่อมต้องยกเครื่องใหม่เปลี่ยนทั้งลูกสูบยกชุด ค่าซ่อมต่างๆตามาอีกมากมาย หากเป็นแบบนี้บ่อยครั้งอาจส่งผลต่อเงินในกระเป๋าในอนาคตได้


2. อุบัติเหตุรถชนหนัก

     หากเกิดอุบัติเหตุรถชนหนัก แล้วเรานำรถไปซ่อม แม้ว่ารถจะกลับมาเหมือนเดิม ก็ยังคงมีบางส่วนที่ใช้งานได้ไม่ดีเหมือนเดิม จุดเชื่อมต่อต่างๆ อาจมีการบิดเบี้ยว ทำให้การขับขี่นั้นเปลี่ยนไป ซึ่งหากใช้รถที่มีปัญหาก็อาจส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นอีกได้ ทางที่ดีควรเปลี่ยนรถใหม่จะดีกว่าค่ะ


3. รถเกิดสนิมบริเวณตัวถัง

     รถยนต์เมื่อผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานอาจเกิดสนิมได้ หรือแม้แต่รถที่เพิ่งออกมาใหม่ไม่กี่ปี หากถอยไปชนเสา มีรอยถลอก เกิดสนิมในชั้นสีนั้นยังคงทำสีใหม่ได้ แต่หากสนิมเกาะบริเวณตัวถัง จะทำให้เกิดการพุพัง กัดกร่อน อีกทั้งยังลุกลามไปยังส่วนอื่นๆได้ตลอดเวลา และส่งผลในการดูดซับและกระจายแรงกระแทกน้อยลง เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ในที่สุด


4.  สิ้นอายุการใช้งานรถ

     โดยมากแล้วรถส่วนใหญ่จะมาอายุการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ตามลักษณะการใช้งานของเจ้าของรถแต่ละคน บางคนอาจจะต้องการเปลี่ยนรถใหม่ทุก 5-7 ปี หรือบางคน อาจใช้งานรถได้ถึง 10 ปี หรือบางคนเมื่อเปลี่ยนรถใหม่ไปแล้วแต่ยังคงเก็บรถเก่าไว้ใช้งานอยู่เช่นกันกว่า 20 ปี


5. ค่าซ่อมชิ้นส่วนต่างๆ เริ่มราคาสูงขึ้น

     เมื่อใช้งานรถไปเรื่อยๆ ชิ้นส่วนและอะไหล่ต่างๆ ก็จะต้องการการซ่อมหรือเปลี่ยน ตามอายุของชิ้นส่วนนั้นๆ โดยค่าซ่อมของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้นก็มีราคาที่ต่างกันออกไปตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสน แน่นอนว่าหากเพื่อนๆเอาค่าซ่อมรถมาแปลงเป็นค่าผ่อนรถคันใหม่น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า หากต้องซ่อมชิ้นส่วนต่างๆหลายรอบ


            การซื้อรถยนต์ใหม่ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่อีกเรื่องด้วยมูลค่าของตัวรถ ทั้งที่ทั้งนั้นการจะเปลี่ยนรถใหม่ขึ้นอยู่กับความพร้อม ความจำเป็นในการใช้รถ และควรมีการวางแผนด้านการเงินที่ดีของแต่ละคน และอย่าลืมมีประกันภัยภาคสมัครใจ เพื่อคุ้มครองรถ สามารถปรึกษาทีมงาน AVP ได้เลยค่ะ และที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าลืมมีอะไหล่รถยนต์ AsiaCare Warranty คุ้มครองอะไหล่ภายในรถยนต์กันด้วยนะคะ

ขอบคณที่มาความรู้ : ทีคิวเอ็ม